การป้องกันสนิมแบบแคโทดิก หรือ Cathodic Protection (CP) นั้น เป็นการป้องกันสนิมโดยการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดภายนอก คือ โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes) หรือ Rectifier เพื่อบังคับให้ศักย์ไฟฟ้าของโลหะซึ่งปกติจะอยู่ในย่าน Corrosion (เกิดสนิม) ลดต่ำลงจนเข้าสู่ย่าน Stable หรือ Immunity (Cathodic Protection) ซึ่งจะทำให้โลหะมีความต้านทานต่อการเกิดสนิมแม้จะจุ่มแช่อยู่ในสารกัดกร่อนโดยไม่ได้ทำการเคลือบผิวเลยก็ตาม แต่ปกติแล้วการป้องกันแบบแคโทดิกมักจะใช้ร่วมกับการเคลือบผิวเพื่อลดความสิ้นเปลืองกระแสที่ใช้ในการป้องกันสนิมให้น้อยลง
ระบบการป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (cathodic Protection) นั้นสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบและหลายสภาวะ เช่น ในน้ำ ในดิน และในคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเฉพาะโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes) นั้นมีความยืดหยุ่นและสะดวกในการใช้งาน เพราะหลังจากออกแบบและติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเหมือนการใช้ Rectifier และสามารถวางแผนเพื่อเปลี่ยนโลหะกันกร่อนได้ตามวงรอบการใช้งาน สำหรับโลหะที่สามารถใช้เป็นโลหะกันกร่อนได้นั้นสามารถพิจารณาได้จากตารางลำดับชั้นของโลหะ และในปัจจุบันโลหะกันกร่อนที่นิยมใช้งานมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ สังกะสีกันกร่อน (Zinc Anode) อลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) และแมกนีเซียมกันกร่อน (magnesium Anode)
สำหรับการใช้งานโลหะกันกร่อนและข้อสงสัยต่างๆ นั้น ทาง TMP จะทยอยเอามาลงในโอกาสต่อไป หรือหากท่านใดมีคำถามต้องการคำแนะนำทาง TMP ก็มีความยินดีครับ
หลักการของระบบป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection)
หลักการทำงานของโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode)
ศักย์ไฟฟ้าของเหล็กก่อนติดโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ขณะอยู่ในย่านการเกิดสนิม (Corrosion)
ศักย์ไฟฟ้าของเหล็กหลังติดอลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) ลดลงเข้าสู่ย่านเกิดภูมิต้านทานต่อการเกิดสนิม (Immunity)