Blog: บทความ

คําถามที่พบบ่อยในการใช้งานโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes)


1. โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes) คืออะไร

ตอบ โลหะกันกร่อนคือโลหะบริสุทธิ์หรือโลหะผสมที่ใช้ติดตั้งเพื่อจ่ายกระแสป้องกันสนิมให้กับโครงสร้างที่ทํา จากเหล็กหรือโลหะประเภทต่างๆ โดยโลหะกันกร่อนจะเป็นสนิมแทนจึงเป็นที่มาของชื่อ Sacrificial Anode หรือ แอโนดผู้เสียสละ

2. เราจะทราบได้อย่างไรว่าโลหะประเภทใดสามารถใช้เป็นโลหะกันกร่อนได้บ้าง

ตอบ สามารถพิจารณาได้จากตารางลําดับชั้นของโลหะในน้ําทะเล ซึ่งทาง TMP ได้ใช้ข้อมูลจาก NACE Corrosion Engineering’s Reference Book 3rd Edition มานําเสนอ จากตารางหากเราใช้ Zinc (สังกะสี) ร่วมกับ Silver (เงิน) ในน้ําทะเล Zinc จะเป็นสนิม ข้อควรระวังในการใช้งานคือ ตารางนี้จะเป็นจริงในน้ําทะเล เท่านั้น สําหรับการใช้งานทั่วไปสามารถอ้างอิงได้แต่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย


3. โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ทีใช้งานเป็นประจํามีอยู่ทั้งหมดกี่ชนิด

ตอบ โลหะกันกร่อนที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด ประกอบด้วย สังกะสีกันกร่อน (Zinc Anode) อลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) และแมกนีเซียมกันกร่อน (Magnesium Anode) แต่ในบางกรณีก็ มีการใช้โลหะกันกร่อนที่เป็นเหล็กอยู่บ้าง เช่น การป้องกันสนิมของท่อทองแดง

 

Aluminium Anodes
Zinc Anodes
Magnesium Anodes
4. โลหะกันกร่อนทั้ง 3 ชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ คุณสมบัติของโลหะกันกร่อนแต่ละชนิดสามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้

จากตารางจะเห็นได้ว่าโลหะกันกร่อนมีคุณสมบัติที่สําคัญคือ Electrode Potential และ Current Capacity Electrode Potential: แสดงถึงศักย์ไฟฟ้าของโลหะหรือโลหะผสมแต่ละชนิด เมื่อเรานําโลหะ 2 ชนิด มาเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าหรือสัมผัสกัน โลหะที่มีศักย์ทางไฟฟ้าต่ํากว่า (Anode) จะเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อ ปกป้องโลหะที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่า (Cathode) ไม่ให้เป็นสนิม โดยกระแสไฟฟ้าที่ไหลจาก Anode ไปยัง Cathode จะเกิดจากความต่างศักย์ทางไฟฟ้าระหว่างโลหะ 2 ชนิด และค่า Driving Voltage คือผลต่างระหว่างค่าศักย์ไฟ้ฟ้าของ Anode และค่า Protection Potential ของโลหะ ซึ่งในกรณีของเหล็กคือ -0.8 V vs Ag/AgCl/Seawater Current Capacity: แสดงถึงค่าความจุกระแสของโลหะกันกร่อนต่อน้ําหนัก โดยโลหะกันกร่อนที่มีค่า ความจุกระแสสูงจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันสนิมได้ยาวนานกว่า หรือหากจ่ายกระแสไฟฟ้าใน ปริมาณที่เท่ากันโลหะกันกร่อนที่ค่าความจุกระแสสูงกว่าจะใช้น้ําหนักน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น อลูมิเนียมกัน กร่อนเมื่อนําไปใช้งานจะมีความหมดเปลืองเชิงน้ําหนักน้อยกว่าโลหะกันกร่อนชนิดอื่นส่วน Consumption  
Rate คือความหมดเปลืองของโลหะกันกร่อน ซึ่งเป็นส่วนกลับของ Current Capacity

5. ทําไมเมื่อใช้อลูมิเนียมกันกร่อนแทนสังกะสีกันกร่อนที่มีขนาดเท่ากันจึงรู้สึกเหมือนอลูมิเนียมกันกร่อนไม่ค่อยกร่อนหรือกร่อนน้อยกว่าสังกะสี กันกร่อน 

ตอบ จากตารางในข้อ 4 หากใช้สังกะสีกันกร่อน 1 kg จะมีความจุกระแส 780 Ah โดยถ้ากําหนดให้สังกะสีกันกร่อนมีความหนาแน่น 7.1 g/cm3  และอลูมิเนียมกันกร่อนมีความหนาแน่น 2.7 g/cm3 เมื่อใช้อลูมิเนียม กันกร่อนที่มีขนาดเท่ากันกับสังกะสีกันกร่อนจะได้อลูมิเนียมกันกร่อนที่มีน้ําหนัก 0.38 kg และมีค่าความจุ กระแสประมาณ 950 Ah จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าอลูมิเนียมกันกร่อนมีค่าความจุกระแสมากกว่าสังกะสีกันกร่อนประมาณ 21.8% ดังนั้นเมื่อเราใช้อลูมิเนียมกันกร่อนมาติดแทนสังกะสีกันกร่อนเพื่อป้องกันการเกิดสนิม จึงทําให้รู้สึก เหมือนว่าอลูมิเนียมกันกร่อนไม่ค่อยกร่อนหรือกร่อนน้อยกว่านั่นเอง

6. สามารถติดโลหะกันกร่อนเพื่อใช้งานในอากาศได้ไหม เช่น เสาไฟฟ้า รั้วบ้านที่ทําจากเหล็ก

ตอบ โลหะกันกร่อนสามารถใช้งานในน้ําจืด น้ํากร่อย น้ําทะเล ใต้ดิน หรือในคอนกรีต แต่ไม่สามารถใช้งานใน อากาศได้ เพราะระบบป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) ต้องมี 4 องค์ประกอบครบถ้วนคือ

     – Cathode

      – Anode

      – Metallic Path 

      – Electrolyte 

ดังแสดงในรูปจึงจะสามารถทํางานได้ และเนื่องจาก อากาศมีความต้านทานทางไฟฟ้าสูงมากเกินไปจึงไม่สามารถนับเป็น Electrolyte ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เสาเหล็กชุบสังกะสีที่ตากแดดตากฝนและเป็นสนิม

7. เราจะมีวิธีทราบได้อย่างไรบ้างว่าโลหะกันกร่อนกําลังป้องกันไม่ให้เหล็กเป็นสนิม

ตอบ เราสามารทราบได้ 2 วิธีด้วยกันคือ

          7.1 โดยการวัดศักย์ไฟฟ้าของเหล็กเทียบกับ Reference Electrode: หลักการทํางานของโลหะกัน กร่อนคือเมื่อนําไปติดตั้งกับเหล็กแล้ว จะมีผลทําให้ศักย์ไฟฟ้าของเหล็กลดต่ําลงจนเปลี่ยนสภาพจากสภาวะ การเกิดสนิม (Corrosion) เป็นสภาวะที่มีภูมิต้านทานต่อการเกิดสนิม (Immunity) ดังนั้นหากเราวัดค่า ศักย์ไฟฟ้าของเหล็กเทียบกับ Reference Electrode แล้ว มีค่าลดลงเป็นไปตามที่มาตรฐานกําหนดก็สามารถสรุปได้ว่าเหล็กเกิด Cathodic Protection แล้ว

          7.2 โดยการสังเกต: หากโลหะกันกร่อนทํางานได้เป็นอย่างดี บริเวณที่อยู่ในรัศมีป้องกันของโลหะกันกร่อนไม่ควรจะตรวจพบสนิม

8. ค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กเมื่อเทียบกับ Reference Electrode ที่แสดงว่าเกิดการป้องกันสนิมแบบ แคโทดิก (Cathodic Protection) คือเท่าไหร่
ตอบ ตัวอย่างค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กเมื่อเทียบกับ Reference Electrode ที่แสดงว่าเกิดการป้องกันสนิม แบบแคโทดิก (Cathodic Protection) จากหนังสือ NACE Corrosion Engineering’s Reference Book, 3rd Edition มีดังนี้
          8.1 -850 mV to a Saturated Copper–Copper Sulfate Reference Electrode (CSE) สําหรับ การวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กในน้ําทะเลและใต้ดิน
          8.2 -800 mV to Ag/AgCl/Seawater สําหรับการวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กในน้ําทะเล
          8.3 เกิด Cathodic Polarization ระหว่างเหล็กกับ Stable Reference Electrode ไม่น้อยกว่า 100 mV สําหรับการวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กในน้ําทะเล ใต้ดิน และในคอนกรีต
 
9. โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ที่ไม่ทํางานหรือทํางานได้ไม่ดีเกิดจากอะไรได้บ้าง
ตอบ   9.1 มีส่วนประกอบทางเคมี(Chemical Composition) ไม่ถูกต้อง
           9.2 ใช้งานโลหะกันกร่อนไม่เหมาะสม
 
10. ทําไมส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Composition) จึงมีความสําคัญมากต่อการใช้งาน และเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไร
ตอบ จากตารางด้านล่างเป็นตัวอย่างส่วนประกอบทางเคมีของสังกะสีกันกร่อน (Zinc Anode) และอลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) ตามมาตรฐานต่างๆ ได้แก่ ASTM Standard, MIL-A-18001K ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา GL-Zn1 และ GL-Al1 ของ Germanischer Lloyd ประเทศเยอรมัน และ TMP Anode ซึ่งเป็นอลูมิเนียมกันกร่อนที่ทาง  TMP ได้ค้นคว้าและพัฒนาขึ้นเอง ซึ่งจากส่วนประกอบทางเคมีของทั้งสังกะสีกันกร่อนและอลูมิเนียมกันกร่อน ทางผู้ผลิตจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้วัตถุดิบคุณภาพสูง พนักงานต้อง
มีความเชี่ยวชาญในการผลิต รวมถึงต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สําหรับตรวจส่วนประกอบทางเคมีเฉพาะอยู่ ภายในโรงงาน เพราะหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งจะทําให้โลหะกันกร่อน  
ที่ผลิตได้มีโอกาสไม่ผ่านมาตรฐานสูง มาก โดยสารปนเปื้อนต่างๆ ที่เกินมาตรฐาน เช่น  Pb, Fe และ Cu จะทําให้โลหะกันกร่อนไม่ทํางานเพราะ อาจจะทําให้ศักย์ไฟฟ้าของโลหะเพิ่มขึ้น  จนหมดคุณสมบัติในการเป็นโลหะกันกร่อน หรือมีคุณสมบัติต่ํากว่า มาตรฐาน เช่น มีความจุกระแสน้อยและทําให้โลหะกันกร่อนหมดเร็ว ซึ่งจะทําให้อายุการใช้งานโลหะกันกร่อนสั้นกว่า ปกติดังนั้นการใช้วัสดุ Recycle หรือการส่งโลหะกันกร่อนตรวจที่ห้องปฏิบัติการกลางภายนอกโรงงาน หลังจากทําการผลิตเสร็จแล้วโดยไม่มีเครื่องตรวจเป็นของตนเอง จะทําให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพการผลิต หน้างานได้ดีเพียงพอ

 

ตารางแสดงส่วนประกอบทางเคมีของสังกะสีกันกร่อน (Zinc Anode) ตามมาตรฐานต่างๆ
ตารางแสดงส่วนประกอบทางเคมีของอลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) ตามมาตรฐานต่างๆ
11. โลหะกันกร่อนทั้ง 3 ชนิด มีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ  11.1 สังกะสีกันกร่อนมีค่าศักย์ไฟฟ้าสูงที่สุดในกลุ่ม หรือกล่าวได้ว่ามีค่า Driving Voltage น้อยที่สุดและยังมีค่าความจุกระแสไฟฟ้าต่ํา จึงเหมาะสําหรับใช้ป้องกันสนิมในบริเวณที่

                มีความต้านทานไฟฟ้าไม่สูงมากนัก เช่น น้ําทะเล

          11.2 อลูมิเนียมกันกร่อนมีค่าศักย์ไฟฟ้าปานกลาง แต่มีค่าความจุกระแสสูง จึงเหมาะสําหรับใช้ป้องกันการกัดกร่อนในน้ําทะเล และน้ํากร่อย

          11.3 แมกนีเซียมกันกร่อนมีค่าศักย์ไฟฟ้าต่ําที่สุด และมีค่าความจุกระแสปานกลาง จึงเหมาะสําหรับใช้ป้องกันการกัดกร่อนในบริเวณที่มีความต้านทานไฟฟ้าสูง เช่น น้ํากร่อยมาก 

                 น้ําจืด และใต้ดิน

12. อลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) สามารถใช้ป้องกันการกัดกร่อนของเหล็กในน้ําทะเลแทนสังกะสีกันกร่อน (Zinc Anode)        ได้หรือไม่ 

ตอบ อลูมิเนียมกันกร่อนสามารถใช้ป้องกันสนิมเหล็กในน้ําทะเลได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างการใช้งานที่พบเห็นได้ทั่วไปได้แก่ แท่นขุดเจาะ ท่อส่งน้ํามัน ท่าเทียบเรือ และเรือเดินสมุทรประเภทต่างๆ

 

13. ข้อจํากัดของการใช้อลูมิเนียมกันกร่อนคืออะไร

ตอบ อลูมิเนียมกันกร่อนไม่เหมาะสมที่จะใช้งานในน้ํากร่อยมาก น้ําจืด หรือใต้ดิน เพราะคุณสมบัติในการ เกิดออกไซด์ฟิล์มที่ผิวของอลูมิเนียม (Passivation) จะขัดขวางการจ่ายกระแสของอลูมิเนียมกันกร่อนไปยัง โลหะที่ต้องการจะป้องกัน

 

14. ข้อจํากัดของการใช้สังกะสีกันกร่อนคืออะไร

ตอบ สังกะสีกันกร่อนไม่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่น้ํากร่อย เพราะมักเกิดชั้นออกไซด์ฟิล์มหนาปกคลุมผิว ซึ่งขัดขวางการจ่ายกระแสของสังกะสีกันกร่อน

 

15. จะสามารถเลือกใช้งานโลหะกันกร่อนเพื่อป้องกันตัวเรือที่ทําจากเหล็กให้เหมาะสมกับแหล่งน้ําต่างๆ ได้อย่างไร

ตอบ การเลือกใช้โลหะกันกร่อนเพื่อป้องกันตัวเรือเหล็กสามารถพิจารณาได้จากตําบลที่จอดเรือประจํา หรือประเภทของน้ําที่ตัวเรือเหล็กมีโอกาสสัมผัสบ่อยที่สุด คือ น้ําทะเล น้ํากร่อย หรือน้ําจืด

เมื่อพิจารณาจากตารางคุณสมบัติของโลหะกันกร่อนในคําตอบข้อ 4 ข้อแนะนําการใช้งานสังกะสีกัน ก่อน อลูมิเนียมกันกร่อน และแมกนีเซียมกันกร่อน จาก US Military Standard ในข้อ 11 และรูปผลการทดลองติดตั้งก้อนสังกะสีกันกร่อนและก้อนอลูมิเนียมกันกร่อนเข้ากับแผ่นเหล็กไม่ทาสีความยาว 6 เมตร และจุ่มแช่ในน้ําทะเลบริเวณ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และในน้ํากร่อยบริเวณปากแม่น้ําเจ้าพระยา อ.พระสมุทรเจดีย์จ.สมุทรปราการ ทําให้สามารถสรุปการเลือกใช้โลหะกันกร่อนกับตัวเรือเหล็กได้ดังตารางต่อไปนี้

16. โลหะกันกร่อนชนิดใดที่เหมาะสมสําหรับป้องกันสนิมของเรือที่ทําจากอลูมิเนียม

ตอบ ปกติแล้วสังกะสีกันกร่อนมีความเหมาะสมกับเรืออลูมิเนียมมากที่สุด ในบางกรณีก็มีความจําเป็นต้องใช้อลูมิเนียมกันกร่อนแทน แต่เนื่องด้วยโลหะวิทยาของอลูมิเนียมในน้ําค่อนข้างมีความซับซ้อน การเลือกใช้งานโลหะกันกร่อนที่ไม่ถูกต้องอาจจะทําให้เรืออลูมิเนียมเกิดสนิมรุนแรงได้ ดังนั้นหากมีข้อสงสัยหรือไม่มั่นใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกโลหะกันกร่อนเพื่อใช้งาน

 

17. แผ่นยางที่ติดด้านหลังโลหะกันกร่อนมีไว้เพื่ออะไร และมีความจําเป็นหรือไม่อย่างไร

ตอบ โดยส่วนมากแล้วแผ่นยางจะใช้งานคู่กับโลหะกันกร่อนชนิดติดตั้งแนบกับโครงสร้างโลหะและยึดด้วยสลัก เพื่อป้องกันไม่ให้โลหะกันกร่อนเกิดการกัดกร่อนด้านที่ติดกับโครงสร้างโลหะ เพราะอาจจะทําให้โลหะกันกร่อนร่วงหลุด หรือทําให้สลักที่ยึดโลหะกันกร่อนไว้หลวมซึ่งจะส่งผลต่อการจ่ายกระแสเพื่อป้องกันสนิม

หากผู้ใช้งานไม่ต้องการติดแผ่นยางก็สามารถใช้สีที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนทาที่ด้านหลังของโลหะกันกร่อนให้ทั่วก็จะสามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน

 

18. ควรทาสีก้อนโลหะกันกร่อนทั้งก้อนหรือไม่

ตอบ จากข้อ 17 เราทาสีด้านหลังก้อนโลหะกันกร่อน เพื่อไม่ให้โลหะกันกร่อนร่วงหลุดในกรณีติดตั้งแนบกับโครงสร้างเหล็ก แต่หากทาสีทั่วทั้งก้อนจะทําให้โลหะกันกร่อนไม่สามารถจ่ายกระแสป้องกันสนิมได้ ดังนั้นจึงไม่ควรทาสีโลหะกันกร่อนทั้งก้อน

 

19. การติดตั้งโลหะกันกร่อนด้วยการเชื่อมและยึดด้วยสลักแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ การยึดด้วยสลักมีข้อดีคือสามารถถอดเปลี่ยนโลหะกันกร่อนได้ง่าย แต่การเชื่อมต่อทางไฟฟ้าจะด้อยกว่าการเชื่อม ดังนั้นหากไม่มีข้อจํากัดที่จําเป็น ทาง TMP แนะนําให้ติดตั้งด้วยการเชื่อม เพราะหากสลักคลายตัวอาจจะทําให้จะทําให้โลหะกันกร่อนจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ไม่สมบูรณ์และมีโอกาสที่เหล็กจะเป็นสนิมดังแสดงให้เห็นตามรูป

แผ่นเหล็กด้านขวาเป็นสนิมจากการคลายตัวของสลัก
20. Sacrificial Anode และ Impressed Current มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ ชื่อเต็มของการป้องกันสนิมทั้ง 2 วิธีคือ Sacrificial Anode Cathodic Protection (SACP) และImpressed Current Cathodic Protection (ICCP) ซึ่งเป็นระบบป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่แหล่งกําเนิดไฟฟ้าของ Sacrificial Anode อาศัยความต่างศักย์ทาง ไฟฟ้าของโลหะ 2 ชนิด คือ Anode (ตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าป้องกัน) และ Cathode (โครงสร้างโลหะที่รับ กระแสไฟฟ้าป้องกัน) สําหรับ Impressed Current ต้องมีแหล่งกําเนิดไฟฟ้าจากภายนอก เช่น จากสายส่ง ไฟฟ้าหรือจากแบตเตอรี่ ซึ่งจากหนังสือ Handbook of Cathodic Corrosion Protection: Theory and Practice of Electrochemical Processes สรุปเปรียบเทียบทั้ง 2 วิธีไว้ดังนี้

21. เราสามารถใช้ Sacrificial Anode ร่วมกับ Impressed Current ได้หรือไม่

ตอบ ปกติการใช้ระบบป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) จะเลือกใช้วิธีเดียวเท่านั้นในการป้องกันโครงสร้าง ยกเว้นกรณีที่เลือกใช้วิธี ICCP และโครงสร้างมีความซับซ้อน ทําให้บางตําแหน่งอาจจะไม่ได้รับการป้องกัน SACP ก็จะถูกนํามาใช้ติดตั้งในบริเวณดังกล่าวเพื่อแก้ไขจุดอ่อนของวิธี ICCP

Related Tag

Related Post