Blog: บทความ

การป้องกันสนิมแบบแคโทดิก

การป้องกันสนิมแบบแคโทดิก หรือ Cathodic Protection (CP) นั้น เป็นการป้องกันสนิมโดยการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดภายนอก คือ โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes) หรือ Rectifier เพื่อบังคับให้ศักย์ไฟฟ้าของโลหะซึ่งปกติจะอยู่ในย่าน Corrosion (เกิดสนิม) ลดต่ำลงจนเข้าสู่ย่าน Stable หรือ Immunity (Cathodic Protection) ซึ่งจะทำให้โลหะมีความต้านทานต่อการเกิดสนิมแม้จะจุ่มแช่อยู่ในสารกัดกร่อนโดยไม่ได้ทำการเคลือบผิวเลยก็ตาม แต่ปกติแล้วการป้องกันแบบแคโทดิกมักจะใช้ร่วมกับการเคลือบผิวเพื่อลดความสิ้นเปลืองกระแสที่ใช้ในการป้องกันสนิมให้น้อยลง

ระบบการป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (cathodic Protection) นั้นสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบและหลายสภาวะ เช่น ในน้ำ ในดิน และในคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเฉพาะโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes) นั้นมีความยืดหยุ่นและสะดวกในการใช้งาน เพราะหลังจากออกแบบและติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเหมือนการใช้ Rectifier และสามารถวางแผนเพื่อเปลี่ยนโลหะกันกร่อนได้ตามวงรอบการใช้งาน สำหรับโลหะที่สามารถใช้เป็นโลหะกันกร่อนได้นั้นสามารถพิจารณาได้จากตารางลำดับชั้นของโลหะ และในปัจจุบันโลหะกันกร่อนที่นิยมใช้งานมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ สังกะสีกันกร่อน (Zinc Anode) อลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) และแมกนีเซียมกันกร่อน (magnesium Anode)

สำหรับการใช้งานโลหะกันกร่อนและข้อสงสัยต่างๆ นั้น ทาง TMP จะทยอยเอามาลงในโอกาสต่อไป หรือหากท่านใดมีคำถามต้องการคำแนะนำทาง TMP ก็มีความยินดีครับ

Related Tag

Related Post