Blog: บทความ

การป้องกันสนิม โดยการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

บทความที่ 5

การป้องกันสนิม โดยการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

สวัสดีครับทุกท่าน ครั้งที่แล้วผมอธิบายให้เพื่อนๆ ทราบกันแล้วว่าเราสามารถป้องกันสนิมได้ 6 วิธีคือ

1. การเลือกใช้โลหะให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

2. การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน

3. การออกแบบ

4. การเคลือบผิว (Coating)

5. การป้องกันแบบแคโทดิก (Cathodic Protection)

6. การป้องกันแบบแอโนดิก (Anodic Protection)

และผมได้พูดถึง “ข้อที่ 1 การเลือกใช้โลหะให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม” ไปแล้ว มีผู้สนใจบางท่านแจ้งว่าสภาพแวดล้อมการใช้งานของผมไม่เห็นมีอยู่ในบทความ ผมจึงขอทำความเข้าใจกับทุกท่านที่ติดตามอ่านอยู่ว่า page นี้คงให้ความรู้เบื้องต้นและกรณีทั่วไปได้เท่านั้น เพราะสภาพแวดล้อมในการใช้งานและโลหะที่เราใช้อยู่นั้นมีเป็นพันเป็นหมื่นชนิด admin คงไม่สามารถยกตัวอย่างมาได้ทั้งหมด แต่เกร็ดความรู้ที่ได้จาก page น่าจะทำให้หลายๆ ท่านที่สนใจค้นคว้าหาวิธีที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเองได้ครับ วันนี้เรามาต่อกันที่ “ข้อที่ 2 การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน” โดยเราสามารถเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ใช้งานได้หลายรูปแบบด้วยกันเช่น

2.1 ลดหรือเพิ่มอุณหภูมิใช้งานในระบบ

2.2 ลดหรือเพิ่มความเร็วของสารกัดกร่อนในระบบ

2.3 ลดหรือเพิ่มปริมาณออกซิเจนในระบบ

2.4 ลดหรือเพิ่มความเข้มข้นของสารกัดกร่อนในระบบ

2.5 การเติมสารยับยั้ง (Inhibitors)

โดยปกติแล้วในข้อที่ 2.1 ถึง 2.4 ความรุนแรงของการเกิดสนิมจะลดลงเมื่อเราลดอุณหภูมิใช้งานในระบบ ลดความเร็วของสารกัดกร่อนในระบบ ลดปริมาณออกซิเจนในระบบ หรือลดความเข้มข้นของสารกัดกร่อนในระบบ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเป็นการเพิ่มอุณหภูมิ เพิ่มความเร็ว เพิ่มปริมาณออกซิเจน หรือเพิ่มความเข้มข้นของสารกัดกร่อนก็มักจะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของการเกิดสนิมให้มากขึ้นในบางครั้งการเพิ่มขึ้นของตัวแปรในระบบก็อาจจะมีผลทำให้สนิมมีความรุนแรงน้อยลงได้ ดังเช่นกรณีของเหล็กและกรดซัลฟุริก ซึงแสดงให้เห็นในรูปที่ 1 (จากหนังสือ Corrosion and Protection ของ Einar Bardal) จะเห็นได้ว่า “เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอัตราการเกิดสนิมของเหล็กจะเพิ่มขึ้น” แต่เมื่อ “ความเข้มข้นของกรดซัลฟุริกเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดสนิมของเหล็กจะลดลง”สำหรับ “ข้อ 2.5 การเติมสารยับยั้ง (Inhibitors)” อาจจะให้ความหมายได้ง่ายๆ คือ “การเติมสารเคมีปริมาณเล็กน้อยเข้าไปในระบบปิด และมีผลทำให้อัตราการเกิดสนิมของโลหะในระบบลดลงหรือหยุดลง” Inhibitors ผสมอยู่ มีอยู่หลายชนิดและกลไกลการทำงานที่แตกต่างกันจึงไม่สะดวกที่จะนำรายละเอียดมากล่าวในที่นี้ โดยตัวอย่างของการใช้งานที่ผมคิดว่าทุกท่านคุ้นเคยกันดีคือ “น้ำยาที่เติมในหม้อน้ำของรถยนต์” ซึ่งเมื่อก่อนเราจะใช้น้ำเปล่าเติมและจะเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำมีสีแดงเพราะมีสนิมปนอยู่ แต่ในปัจจุบันน้ำยาเติมหม้อน้ำจะมี Inhibitor ผสมอยู่ ทำให้หม้อน้ำไม่เป็นสนิมครับ เป็นยังไงบ้างครับ เกร็ดความรู้ที่ทาง TMP นำมาเสนอ หากถูกใจก็ช่วยกด like ให้กำลังใจ admin ซักนิดนะครับ 🙂 สำหรับคราวหน้าทาง TMP จะกลับมานำเสนอ “ข้อที่ 3 การออกแบบ” เพื่อลดปัญหาการเกิดสนิมให้ทุกท่านได้ทราบ พบกันใหม่คราวหน้าครับ

Related Tag

Related Post